สาระน่ารู้เกี่ยวกับ จป เทคนิคและการอบรม จป เทคนิค 

จป เทคนิค ย่อมาจากเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ซึ่ง จป เทคนิค แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ จป เทคนิคและ จป เทคนิคขั้นสูง ตำแหน่งนี้มาจากการแต่งตั้งของนายจ้าง ลูกจ้างที่มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนเหมาะสมเมื่อนายจ้างแต่งตั้งให้เป็น จป เทคนิค หรือ จป เทคนิคขั้นสูง ผู้เข้ารับตำแหน่งต้องดูแลในด้านความปลอดภัยเพื่อให้เกิดความปลอดภัยขึ้นภายในองค์กร ผู้ที่จะเข้าตำแหน่ง จป เทคนิคได้จะต้องมีเลขทะเบียน จป หัวหน้างาน จากนั้นจึงมาอบรม จป เทคนิคเพื่ออัพเกรด 

ในกรณีที่ไม่ได้มีเลขทะเบียน จป หัวหน้างานหรือไม่เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานมาก่อน  ตามกฎหมายได้ระบุว่าผู้รับตำแหน่งจป เทคนิคจะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่าปริญญาตรี สาขาใดก็ได้ เพียงเท่านั้นก็สามารถเข้ารับการอบรม จป เทคนิคแล้วรับตำแหน่ง จป เทคนิคได้แล้ว 

กิจการใดต้องมี จป เทคนิค 

รู้หรือไม่ สถานประกอบกิจการใดต้องมี จป เทคนิค ตามกฎกระทรวงได้กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปี 2549 ระบุไว้ว่าสถานประกอบกิจการประเภท โรงงาน คลังสินค้า ซ่อมบำรุง งานก่อสร้าง ขนส่งสินค้าหรือขนส่งคน และสถานีบริการน้ำมันที่มีลูกจ้าง 20-49 คนต้องมี จป เทคนิค แต่หากมีลูกจ้างตั้งแต่ 50-99 คน ต้องมีจป เทคนิคขั้นสูง และถ้าหากมีจำนวนลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปต้องมี จป วิชาชีพ 

แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหากสถานประกอบการที่เข้าข่ายตามกฎกระทรวงได้กำหนดแต่ไม่มีการแต่งตั้ง จป เทคนิค ซึ่งจะมีความผิดตาม พรบ ความปลอดภัยฯ ปี 2554 มาตรา 13 นายจ้างต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน คณะบุคคล หน่วยงาน หรือบุคลากร เพื่อดำเนินงานในด้านความปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่มีการกำหนดในกฏกระทรวง 

นายจ้างจะมีความผิดในมาตรา 56 หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา 13 16 หรือมาตรา 32 ต้องระวางโทษโดยจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 2 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 

อบรม จป เทคนิค กี่ชั่วโมง อบรมอะไร 

หลักสูตรที่ใช้อบรม จป เทคนิค มีทั้งหมด 4 หมวดวิชา ระยะเวลาที่ใช้ในการอบรมคือ 18 ชม. 

หมวดวิชาที่ 1 การจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน 

  • แนวคิดการจัดการความปลอดภัย 
  • บทบาทหน้าที่ของ จป เทคนิค 

หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยฯ 

  • สาระสำคัญของกฎหมาย 
  • การตรวจสอบความปลอดภัยตามข้อกำหนดของกฎหมาย 

หมวดวิชาที่ 3 วิเคราะห์งานเพื่อบ่งชี้อันตราย 

  • เทคนิคการบ่งชี้อันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ 
  • เทคนิคการบ่งชี้อันตรายเพื่อป้องกันโรค
  • เทคนิคการบ่งชี้อันตรายเพื่อป้องกันเหตุร้ายแรง 

หมวดวิชาที่ 4 ฝึกปฎิบัติและป้องกันควบคุมอันตราย 

อบรม จป เทคนิค หลักสูตรที่มีความสำคัญ ปัจจุบันสามารถเข้ารับการอบรมได้ผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อความสะดวกสบายมากขึ้น ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมกับศูนย์อบรมที่ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเท่านั้น